วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ดาวเทียมในประเทศไทย

1 ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ


ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) หรือ ดาวเทียมธีออส (THEOS) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ ในวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551 ตามเวลาประเทศไทย 13:37:16 น. หรือ 6.37:16 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยจรวดนำส่ง "เนปเปอร์" (Dnepr) จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย ดาวเทียมไทยโชต ถูกออกแบบให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำงานโดยอาศัย แหล่งพลังงาน จากดวงอาทิตย์ สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบ ออฟติคคอล (Optical Imagery) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible band) จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออสกับดาวเทียม อื่นๆ พบว่า 3 ช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออส มีความคล้ายคลึงกับช่วงคลื่นของดาวเทียม SPOT ยกเว้นช่วงคลื่น สีน้ำเงิน ที่มีเพิ่มมากกว่าของดาวเทียม SPOT และมีความคล้ายคลึงกันกับช่วงคลื่นของดาวเทียม Landsat ระบบ TM
หมายเหตุ:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS ว่า “ดาวเทียมไทยโชต” ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thaichote” ซึ่งแปลว่า ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง สทอภ. ล้วนปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้



วงโคจรของดาวเทียม THEOS

2 ดาวเทียมโทรคมนาคม

ดาวเทียมไทยคม 1A

ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ในวันที่18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจร จากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) แห่งฝรั่งเศส ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์ เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานชื่อ “ไทยคม” เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2534 โดยมาจากคำว่า ไทยคม (นาคม) สร้างโดยบริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ (Hughes Aircraff) สหรัฐอเมริกา สามารถถ่ายทอดได้ทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ และการสื่อสารข้อมูล ต่อมาได้ชื่อใหม่เป็น “ดาวเทียมไทยคม 1A” ปัจจุบันได้มีดาวเทียมไทยคมทั้งหมด 3 ดวงคือมี ดาวเทียมไทยคม 2 และไทยคม 3 เจ้าของคือกลุ่มชินคอร์ป ซึ่งต่อมาได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเสก ของสิงค์โปร์ ดังนั้นเจ้าของเครือข่ายดาวเทียมไทยคมก็คือนายทุนจากสิงคโปร์ ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) เป็นชื่อของ ดาวเทียม สื่อสาร ที่ดำเนินการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณ ดาวเทียม และบริหารโครงการโดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ซึ่งปัจจุบันเป็นตกเป็นของประเทศสิงคโปร์ทั้ง ดาวเทียม และวงโคจร จนเป็นที่มาของข้อกล่าวหาขายชินขายชาติ  
ชื่อ ไทยคม เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานมาจากคำว่า Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

ปัจจุบัน ดาวเทียม ไทยคม มีทั้งสิ้น 5 ดวงคือ




ไทยคม 1A ดาวเทียม ดวงแรกของประเทศไทย รุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft(บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) 
เดิม ดาวเทียม ดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก ใช้ชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงใช้ชื่อว่า ไทยคม 1A 
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E


 

       
ไทยคม 2 ดาวเทียม ดวงที่ 2 ของประเทศไทย เป็น ดาวเทียม รุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E





ไทยคม 3 เป็น ดาวเทียม รุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย, ยุโรป,ออสเตรเลียและแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ดาวเทียม ไทยคม 3 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E



  
ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็น ดาวเทียม รุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็น ดาวเทียม ดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็น ดาวเทียม สื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ มีน้ำหนักมากที่สุด ถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1] 
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E



  
ไทยคม 5 เป็น ดาวเทียม รุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A รุ่นเดียวกับไทยคม 3 สร้างโดยAlcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3 มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียม สำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) 
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น